วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบกองทัพบกการลา

ระเบียบกองทัพบก
ว่าด้วยการรับ-ส่งหน้าที่ในเวลาย้าย เลื่อน ลด ปลด และบรรจุ
พ.ศ. ๒๕๔๐
……………………….

เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับ-ส่งหน้าที่ของส่วนราชการในกองทัพบกเป็นไปด้วยความ
เรียบร้อย สอดคล้องกับข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วย การบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลด ตำแหน่ง
ข้าราชการกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๒ และ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ทันเวลา และมีประสิทธิภาพเป็นผลดีต่อทางราชการ จึงกำหนดระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการรับ-ส่งหน้าที่
ไว้ดังนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบกองทัพบกว่าด้วย การรับ-ส่งหน้าที่ในเวลาย้าย เลื่อน
ลด ปลด และบรรจุ พ.ศ.๒๕๔๐ ”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก ฃ


๒.๑ ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการรับส่งหน้าที่ เวลาย้าย เลื่อน ลด ปลด และบรรจุ พ.ศ.๒๔๙๒
๒.๒ คำสั่ง กองทัพบก ที่ ๕๑๓/๒๕๒๕ ลง ๖ ก.ย.๒๕ เรื่อง การรับ-ส่งหน้าที่ของผู้บังคับหน่วยที่มีหน้าที่ปกครองที่ดินของ ทบ.หนังสือกรมกำลังพลทหารบก dd="" ก.ค.๒๕="" กห="" การตรวจสอบเอกสารรับ-ส่งหน้าที่="" คำชี้แจงใด="" คำสั่ง="" ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้="" ต่อ="" ที่="" ที่ได้กำหนด="" บรรดา="" ระเบียบ="" ลง="" เรื่อง="" ในเรื่องการรับ-ส่งหน้าที่ของกองทัพบก="" ให้ใช้ระเบียบนี้แทน<="" ไว้แล้ว="" ๆ="" ๐๓๑๕="" ๓๐="" ๙๔๖="">
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ส่วนราชการ หมายถึง ส่วนราชการของกองทัพบกหรือหน่วยทหารของกองทัพบก
ตั้งแต่ระดับหมวดหรือเทียบเท่าขึ้นไป หน่วยงานพิเศษ คณะทำงานต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามโครงการของ
กองทัพบก ทั้งในการปฏิบัติราชการตามปกติหรือราชการสนาม

ข้อ ๕ ในระหว่างการส่งมอบหน้าที่ให้ผู้ถูกย้ายหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ มีอำนาจหน้าที่
และรับผิดชอบในตำแหน่งเดิมต่อไป จนกว่าจะได้ส่งมอบหน้าที่ให้กับผู้มารับหน้าที่เรียบร้อยแล้ว

ข้อ ๖ ลำดับในการรับ-ส่งหน้าที่ คือ ผู้ใดจะต้องไปรับหน้าที่จากผู้ใดก่อนนั้น โดยปกติให้ถือ
เกณฑ์ตามลำดับหมายเลขหน้าชื่อ ซึ่งปรากฏอยู่ในคำสั่งนั้น ๆ โดยให้ผู้ที่มีหมายเลขมากไปรับหน้าที่จากผู้ที่มีหมายเลขน้อยในคำสั่งดังกล่าว

ข้อ ๗ เมื่อมีคำสั่งย้ายข้าราชการหรือให้ข้าราชการออกจากราชการ ให้ผู้บังคับบัญชาจัดให้
มีการรับ-ส่งหน้าที่กันโดยเร็ว โดยให้เริ่มออกเดินทางไปรับ-ส่งหน้าที่ซึ่งกันและกันภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งอย่างเป็นทางการ ต่อจากนั้นให้ทำการรับ-ส่งหน้าที่ต่อกันให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา ดังนี้
ข้าราชการที่มีตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับหมวด หรือเทียบเท่าลงไป ภายใน ๒ วัน
ข้าราชการที่มีตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับกองร้อย หรือเทียบเท่า ภายใน ๓ วัน
ข้าราชการที่มีตำแหน่งตั้งแต่ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการกรม หรือเทียบเท่า ภายใน ๕ วัน
ข้าราชการที่มีตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการกองพลขึ้นไปหรือเทียบเท่า ภายใน ๗ วันเว้นแต่ผู้ครองตำแหน่งดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่คลังซึ่งรับผิดชอบบัญชีพัสดุและพัสดุในคลังโดยตรง จึงให้ยืดเวลาในการรับ-ส่งหน้าที่ออกไปได้ไม่เกิน ๑๕ วัน
ถ้ารายใดมีความจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการรับ-ส่งหน้าที่เกินกำหนดในข้อนี้ ก็ให้รายงาน
ขออนุมัติต่อผู้สั่งย้ายเป็นราย ๆ ไป ถ้าผู้สั่งย้ายมีตำแหน่งสูงกว่าผู้บัญชาการทหารบก ให้รายงานขออนุมัติถึง
ผู้บัญชาการทหารบก โดยในรายงานจะต้องแจ้งกำหนดเวลาในการรับ-ส่งหน้าที่ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไร
ข้อ ๘ กรณีผู้ส่งต้องไปรับหน้าที่ใหม่ เมื่อรับหน้าที่แล้วเสร็จให้ผู้ส่งกลับมาส่งหน้าที่เดิม
ในโอกาสแรก หากทางราชการยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือสั่งให้ผู้ใดที่เห็นสมควรรักษา
ราชการในตำแหน่งนั้นเป็นการชั่วคราว ภายใน ๓๐ วัน ให้ผู้ส่ง ส่งหน้าที่ให้แก่รองหัวหน้าส่วนราชการ
นั้น และให้รองหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ส่งหน้าที่แทนเมื่อทางราชการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ หรือ
ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งแต่งตั้งผู้รักษาราชการในตำแหน่งนั้นเป็นการชั่วคราว
ข้อ ๙ การส่งหน้าที่สำหรับผู้ถูกปลดออกจากกองประจำการ ให้ปฏิบัติดังนี้
๙.๑ ผู้ที่ครบเกษียณอายุราชการให้ส่งมอบหน้าที่ไว้กับผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งผู้บังคับบัญชา
มีคำสั่งแต่งตั้งให้รักษาราชการในตำแหน่งนั้นเป็นการชั่วคราว และให้ส่งหน้าที่ให้แล้วเสร็จก่อนถึงวันครบ
เกษียณอายุราชการ เมื่อทางราชการมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนั้นๆ จึงให้ส่งมอบหน้าที่กันต่อไป
๙.๒ ผู้ถูกปลดด้วยสาเหตุอื่น ๆ ให้ส่งหน้าที่เช่นเดียวกับข้อ ๗ แต่ถ้ามีความจำเป็น
จะต้องให้ผู้ถูกปลดส่งหน้าที่แก่ผู้รับด้วยตนเองและเป็นเวลาเกินกว่ากำหนดในระเบียบนี้ ก็ให้รายงานขออนุมัติ
ถึงผู้สั่งปลดเป็นราย ๆ ไป

ข้อ ๑๐ การรับ-ส่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติดังนี้
๑๐.๑ ให้ผู้ส่งจัดให้มีการบรรยายสรุปให้แก่ผู้รับโดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
ฝ่ายเสนาธิการหรือฝ่ายอำนวยการ และฝ่ายกิจการพิเศษเข้าร่วมรับฟังด้วย สำหรับส่วนราชการใดที่ไม่มีฝ่ายเสนาธิการหรือฝ่ายอำนวยการหรือฝ่ายกิจการพิเศษ ให้จัดหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงและนายทหารเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปให้ครอบคลุมหัวข้อ ดังต่อไปนี้
       
๑๐.๑.๑ สถานการณ์ สถานภาพกำลังพล สถานภาพอาวุธยุทโธปกรณ์ งบประมาณ และการเงิน เป็นต้น
      
๑๐.๑.๒ ภารกิจของหน่วย
      
๑๐.๑.๓ การปฏิบัติ และแผนการปฏิบัติของหน่วยในปัจจุบัน และอนาคตแนวความคิดในการปฏิบัติเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา ปัญหาข้อข้ดข้องอุปสรรคและความต้องการของหน่วยที่จะขอรับการสนับสนุนจากหน่วยเหนือ เป็นต้น
๑๐.๑.๔ แผนงาน หรือโครงการต่าง ๆ ที่หน่วยกำลังดำเนินการ หรือกำลัง
จะได้รับอนุมัติในอนาคต
๑๐.๑.๕ กิจแผงของหน่วยที่ผู้รับต้องทราบ ถ้าเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ อาจใช้การสนทนาเป็นการส่วนตัว หรือเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องได้ผู้รับหน้าที่จะต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยทุกเรื่องและจะปฏิเสธ
ความรับผิดชอบภายหลังมิได้
๑๐.๒ ภายหลังการบรรยายสรุปให้กระทำพิธีรับ-ส่งหน้าที่ระหว่างผู้รับ และผู้ส่ง
โดยให้ผู้ส่งจัดประชุมกำลังพลภายใต้บังคับบัญชา แล้วชี้แจงมอบหมายการบังคับบัญชาให้แก่ผู้รับต่อไป
ข้อ ๑๑ การปฏิบัติต่อเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งหน้าที่
๑๑.๑ ให้ผู้ส่งจัดทำบัญชีส่งหน้าที่เฉพาะในกองบังคับการ หรือเฉพาะในส่วนที่ตน
รับผิดชอบโดยตรง เช่น บัญชีกำลังพล บัญชีอาวุธ บัญชีการเงิน บัญชีสิ่งอุปกรณ์ ตามสายยุทธบริการต่าง ๆ
และบัญชีอื่น ๆ เฉพาะที่จำเป็น ตามจำนวนซึ่งเป็นจริงในวันที่รับ-ส่งหน้าที่ สำหรับเงินผู้ส่งที่มีอำนาจสั่งการ
เบิกจ่ายเงินกับผู้มีหน้าที่รักษาเงินต้องทำบัญชีรับส่งและตรวจสอบเงินในบัญชีด้วย
๑๑.๒ เมื่อได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว ให้ผู้ส่งและผู้รับบันทึกไว้ท้ายบัญชีส่งหน้าที่ว่า
ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว และลงชื่อผู้รับไว้ แต่ถ้ามีการคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นก็ให้บันทึกไว้ในบัญชีนั้นและลงชื่อ
ผู้รับ ผู้ส่งกับเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้อง แล้วรับส่งกันให้เสร็จไปชั้นหนึ่งก่อน ต่อจากนั้นผู้รับต้องรีบรายงานให้
ผู้บังคับบัญชาโดยตรงทราบโดยเร็ว
๑๑.๓ บัญชีการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามผนวก ก ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๔ การรับ-ส่งหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้บังคับหน่วยที่มีหน้าที่ปกครอง
ที่ดินของกองทัพบกให้ถือปฏิบัติตามผนวก ข ท้ายระเบียบนี้
๑๑.๕ หน่วยต้องตรวจสอบบัญชีคุมยุทโธปกรณ์ของหน่วยให้ถูกต้อง โดยให้ตรวจสอบ
กับกรมฝ่ายยุทธบริการที่เกี่ยวข้องทุก ๆ ปี เพื่อให้บัญชีคุมยุทโธปกรณ์นั้นถูกต้องและสมบูรณ์อยู่เสมอ และเมื่อ
จะต้องทำหลักฐานการรับ-ส่งหน้าที่ ผู้ส่งจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีคุมยุทโธปกรณ์นั้นอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนมีการรับ-ส่งหน้าที่ โดยใช้เวลาตรวจสอบไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ และให้ทำบัญชีเอกสารแยกประเภท
สิ่งอุปกรณ์แต่ละสายยุทธบริการ เพื่อให้กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก สามารถแยกตรวจสอบกับสายยุทธบริการ
ที่เกี่ยวข้องได้ โดยไม่เสียเวลาทางธุรการ
ข้อ ๑๒ บัญชีรับ-ส่งหน้าที่ให้ทำเป็น ๓ ชุด เก็บไว้ ณ ที่ทำการเป็นหลักฐาน ๑ ชุด ผู้ส่ง
เก็บรักษาไว้ ๑ ชุด อีก ๑ ชุด ผู้รับนำเสนอผู้บังคับบัญชาโดยตรง ภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่รับ-ส่งหน้าที่
แล้วเสร็จ เช่นการรับ-ส่งหน้าที่ในระดับหน่วยขึ้นตรงกองทัพบกเมื่อผู้รับได้รับหน้าที่ใหม่แล้วให้
เสนอรายงานถึงกองทัพบกผ่านกรมกำลังพลทหารบกภายใน ๗ วัน พร้อมทั้งแนบบัญชีกำลังพล บัญชีเงิน
บัญชีสิ่งอุปกรณ์สายต่าง ๆ หรือบัญชีอื่น ๆ ที่จำเป็น เมื่อผู้บัญชาการทหารบกทราบแล้วให้แยกบัญชีต่าง ๆ
ให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง คือ กรมสารบรรณทหารบก กรมการเงินทหารบก และกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก
ตรวจสอบความถูกต้อง และเก็บเป็นหลักฐานไว้ต่อไป
ข้อ ๑๓ การรับ-ส่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานการเงิน ให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งประกาศ
หรือข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม และกองทัพบกที่เกี่ยวข้องและให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้โดยอนุโลม
ข้อ ๑๔ การรับหน้าที่ของผู้ที่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการใหม่ ให้เป็นไปตามกำหนดที่ได้
ระบุไว้ในคำสั่งกระทรวงกลาโหมหรือคำสั่งกองทัพบก แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ให้เจ้ากรมกำลังพลทหารบก เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐
(ลงชื่อ) พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร
( เชษฐา ฐานะจาโร )
ผู้บัญชาการทหารบก
กรมกำลังพลทหารบก










ผนวก ก บัญชีการเงิน ประกอบระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการรับ-ส่งหน้าที่ ในเวลาย้าย เลื่อน ลด ปลด
และบรรจุ พ.ศ. ๒๕๔๐
(ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการเงิน พ.ศ.๒๕๒๘ (ขกง.๒๘))
๑. การรับส่งตัวเงิน
๑.๑ ผู้มีอำนาจสั่งการเบิกจ่าย ต้องทำบัญชีรับส่งและตรวจตัวเงินด้วย โดยเขียนไว้ท้าย
บัญชีส่งหน้าที่ว่า “ตรวจรับถูกต้องแล้ว” และลงชื่อผู้รับไว้ (ข้อบังคับ กห.ฯ ข้อ ๑๖ (๑) วรรค ๒ และ วรรค ๓)
๑.๒ การส่งมอบตัวเงิน ให้ผู้รับหน้าที่ทำการตรวจนับเงินในกำปั่นเก็บเงินว่าถูกต้องครบถ้วนตามรายการและจำนวนเงินคงเหลือในสมุดบันทึกนำเงินเข้าออก (กง.๑๗) และตรงตามยอดดุลของ
สมุดเงินสดหรือบัญชีเงินสดในวันรับส่งหน้าที่ แล้วให้ผู้ส่งและผู้รับหน้าที่ลงลายมือชื่อ พร้อมด้วย วัน เดือน
ปี เป็นหลักฐานในสมุดบันทึกนำเงินเข้าออก สมุดเงินสดรับและสมุดเงินสดจ่าย หรือสมุดเงินสด (ขกง. ๒๘
ข้อ ๙๘ วรรค ๒)
๑.๓ ถ้ามีการคลาดเคลื่อนเกิดขึ้น ให้บันทึกไว้ในบัญชีรับส่งหน้าที่ และลงชื่อทั้งผู้รับ
ผู้ส่ง และผู้รับมอบหน้าที่ต้องรีบรายงานให้ผู้บังคับบัญชาโดยตรงทราบโดยเร็ว (ข้อบังคับ กห.ฯ ข้อ ๑๖ วรรค ๓)
๒. การรับส่งเอกสารและหลักฐานด้านการเงิน
๒.๑ ผู้ส่ง จะต้องทำงบทดลองและบัญชีส่งหน้าที่แสดงรายการและจำนวนเงิน ตลอดจน
รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชี (จำนวนบัญชี หลักฐาน และรายละเอียดต่าง ๆ) ประกอบบัญชี และงบทดลองถึงวัน
ส่งหน้าที่
๒.๒ รายงานการเงินประกอบการรับส่งหน้าที่
๒.๒.๑ ระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการ
- รายงานยอดบัญชีแยกประเภททั่วไป (บข. ๒๒)
- รายงานเงินคงเหลือ ณ วันสิ้นเดือน (บช. ๒๓)
- รายงานเทียบยอดเงินฝากธนาคาร (บช. ๒๔)
- รายงานเงินงบประมาณรายจ่าย (บช. ๒๕)
-รายงานเงินงบกลาง (บช. ๒๕)
- รายงานเงินรายได้แผ่นดิน (บช. ๒๖)
- รายงานลูกหนี้เงินทดรองราชการ (บช. ๒๗)
- รายงานลูกหนี้เงินยืมในงบประมาณ (บช. ๒๗)
- รายงานลูกหนี้เงินยืมนอกงบประมาณ (บช. ๒๗)
- รายงานเจ้าหนี้เงินยืมนอกงบประมาณ (บช. ๒๘)
- รายงานเงินรับฝาก (บช. ๒๙)
- รายงานเงินฝาก (บช. ๒๙)


- ๒ -

- รายงานเงินรายรับเพื่อบูรณะทรัพย์สิน (บช. ๒๙)
- รายงานเงินบูรณะทรัพย์สินฝาก (บช. ๒๙)
-รายงานเงินมัดจำ (บช. ๓๐)
-รายงานใบสำคัญเงินทดรองราชการ (บช. ๓๑)
- รายงานใบสำคัญเงินนอกงบประมาณ (บช. ๓๑)
-รายงานเงินเรียกคืน (บช. ๓๒)
- รายงานเงินรับผิดชอบตามสัญญารับสภาพหนี้ (บช. ๓๓)
๒.๒.๒ ระบบบัญชีสำหรับราชการย่อย
ให้จัดทำรายงานการเงิน (บช. ๔๐) เพื่อแสดงหลักฐานเงินประเภทต่าง ๆ
คงเหลือ ณ วันสิ้นเดือนในรายงานให้แสดงยอดเงินประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- เงินคงเหลือ
- เงินฝากธนาคาร
- เงินงบประมาณรายจ่าย
- เงินรายได้แผ่นดิน
- เงินทดรองราชการ
- เจ้าหนี้เงินยืม
- ลูกหนี้เงินยืม
- เงินรับฝาก
- เงินฝาก
- เงินรายรับเพื่อบูรณะทรัพย์สิน
- เงินบูรณะทรัพย์สินฝาก
- ใบสำคัญเงินรองจ่าย
๒.๓ เมื่อผู้รับตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ ถูกต้องแล้ว ให้ผู้ส่งและผู้รับหน้าที่ลงลายมือชื่อ
ในบัญชีรับส่งหน้าที่และงบทดลอง การจัดทำบัญชีรับ-ส่งหน้าที่ พร้อมรายงานอนุโลม ตาม ขกง.๒๘ ข้อ ๙๘
๓. รายงานการเงินสำหรับเงินนอกงบประมาณอื่น ซึ่งปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยเงินนอก
งบประมาณ หรือตามบัญชีเฉพาะเรื่อง ให้รับ-ส่งหน้าที่ด้านการเงินสำหรับเงินประเภทนั้น ๆ ด้วย
ผนวก ข การรับ-ส่งหน้าที่ หัวหน้าส่วนราชการหรือ ผบ.หน่วยที่มีหน้าที่ปกครองที่ดิน ประกอบระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการรับ-ส่งหน้าที่ในเวลาย้าย เลื่อน ลด ปลด และบรรจุ พ.ศ.๒๕๔๐
ด้วยปรากฏว่าในปัจจุบันมีราษฎรบุกรุกที่ดินของ ทบ. หลายแห่ง ทำให้ ทบ. เสียประโยชน์
โดยประสบปัญหาการเรียกร้องจากราษฎรอยู่เป็นประจำ จนเป็นเหตุให้ ทบ. ต้องสูญเสียพื้นที่การฝึกด้วย
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวต่อไป จึงให้กำหนดมาตรการในการรับ-ส่งหน้าที่ของผู้บังคับหน่วยที่มีหน้าที่ปกครองที่ดิน และ/หรือหน่วยปกครองที่ดินของ ทบ. (เฉพาะราย) โดยให้หน่วยถือปฏิบัติ
ดังนี้
๑. ให้ผู้บังคับหน่วยที่มีหน้าที่ปกครองที่ดิน และ/หรือหน่วยปกครองที่ดินของ ทบ.
(สั่งเฉพาะราย) จัดทำบัญชีแสดงรายละเอียดที่ดินในการรับ-ส่งหน้าที่ เพื่อส่งมอบในการรับ-ส่งหน้าที่ด้วย
และให้รายงานการรับ-ส่งหน้าที่ ตามสายการบังคับบัญชา จนถึง นขต.ทบ. (ทภ.)
๒. การจัดทำบัญชีแสดงรายละเอียดที่ดินในการรับ-ส่งหน้าที่ ตามข้อ ๑ ให้เป็นตามอนุผนวก ๑
บัญชีที่ราชพัสดุของหน่วย แต่ถ้าหน่วยที่มีหน้าที่ปกครองที่ดิน และ/หรือหน่วยปกครองที่ดินของ ทบ.(สั่งเฉพาะราย) มีปัญหาในเรื่องการบุกรุก การมีคดี และการมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นก็ให้แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมไว้ใน
อนุผนวก ๒ บัญชีที่ราชพัสดุที่มีปัญหาของหน่วยเป็นหลักฐานอีกบัญชีหนึ่งด้วย ซึ่งทั้งสองบัญชีที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้กำหนดรายละเอียดไว้แล้ว

……………………………….

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น